คลิกที่นี่สั่งซื้อสินค้าได้เลยค่ะ

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เครื่องแบบกองทัพสหรัฐอเมริกา

กองทัพสหรัฐอเมริกาคือกองกำลังที่ปฏิบัติงานเป็นขอบเขตกว้างขวางที่สุดในโลก นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯยังส่งทหารเข้าสู้รบในสงครามใหญ่น้อยอีกหลายครั้ง ทั้งในนามของสหประชาชาติและที่บุกเดี่ยวโดยลำพัง ตั้งแต่สงครามเกาหลี สงครามเวียตนาม ปานามา และล่าสุดคือสงครามยึดครองอิรัก การทำสงครามบ่อยครั้งเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง  ทำให้กองทัพต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อคงความได้เปรียบและลดการสูญเสียกำลังพล นอกจากยุทโธปกรณ์ต่างๆแล้วสิ่งหนึ่งที่เห็นชัดเจนก็คือรูปแบบและลวดลายของเครื่องแบบ  ทั้งเครื่องแบบสนามและเครื่องแบบปกติ  โดยเฉพาะเครื่องแบบสนามแบบล่าสุดนั้นถือว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันเพราะแตกต่างจากแบบเดิมสิ้นเชิง  ทั้งสีสันและการตัดเย็บ
                เครื่องแบบสนามกองทัพบกสหรัฐฯ(Army Combat Uniform  ACU)ที่เราเห็นบ่อยขึ้นจากสื่อต่างๆนี้  เป็นผลมาจากกระบวนการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญด้านการซ่อนพรางของหน่วยรบภาคพื้นดิน  
หลังจากปล่อยให้เหล่านาวิกโยธินนำหน้าไปก่อนด้วยรูปแบบ”มาร์แพท”(Marine Pattern MARPAT)  เป็นลายพรางจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆหลากสีเรียงตัวเต็มพื้นที่ทั้งเสื้อและกางเกง  โดยACUก็มีลักษณะการวางตัวของลวดลายแบบเดียวกัน เพียงแต่สีสันเท่านั้นที่แตกต่างเพื่อบ่งบอกสถานภาพชัดเจนว่าเครื่องแบบลวดลายนี้คือทหารบก
                กระบวนการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบของท.บ.สหรัฐฯนี้  เริ่มต้นขึ้นเป็นทางการในเดือนเมษายน 2005 โดยการเข้ามาทดแทนเครื่องแบบเดิมทั้งแบบพรางป่า(Woodland) และลายพรางทะเลทรายสามสี(Three Colors Desert Pattern)  เปลี่ยนลวดลายและรูปแบบใหม่ให้ใช้ทดแทนของเดิมทั้งหมดภายในปี 2007
                เครื่องแบบใหม่หรือACUนี้ใช้ลวดลายใหม่ในชื่อว่า Universal Camouflage Pattern(UCP)เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า”ลายพรางดิจิตอล” จากลวดลายจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆคล้ายภาพสร้างจากคอมพิวเตอร์ เป็นการผสมผสานกันระหว่างสีเขียว,น้ำตาลอ่อนและเทา  นอกจากลวดลายจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆเรียงรายไม่เป็นรูปทรง  คล้ายคลึงกับลายMARPATดังกล่าว มันยังไปคล้ายกับลายCanadian Disruptive Pattern(CADPAT)ของท.บ.คานาดาด้วย
ไม่ว่าลวดลายทั้งของคานาดาและสหรัฐฯจะเหมือนหรือแตกต่างอย่างไรก็ตาม  ทั้งหมดมีต้นกำเนิดมาจากลายพรางของกองทัพเยอรมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีชื่อเรียกเฉพาะว่า”เฟล็คตาร์น”(Flecktarn”การซ่อนพราง”ในภาษาเยอรมัน) ซึ่งต่อมาได้ถูกปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเพื่อใช้เป็นลายพรางเครื่องแบบทหารใน”บุนเดสแวร์”(Bundeswehr กองกำลังป้องกันสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี)ในปัจจุบัน
                สีสันใหม่ที่ใช้กับACUนี้แตกต่างจากเดิม  แม้จะมีสีเขียว,น้ำตาลและเทา  แต่ก็ไม่มีสีดำเหมือนลายพรางป่าเดิม เพราะถูกพิจารณาแล้วว่ามองเห็นได้ง่ายไม่กลมกลืนไปกับสิ่งแวดล้อม และในสภาพธรรมชาติจริงๆก็มีสีดำให้เห็นน้อยมาก  เป็นผลจากการวิจัยของUnited States Army Soldier System Center(SSC) ศูนย์การวิจัยและพัฒนากองทัพบกในเมืองเนติกรัฐเมสสาชูเซ็ตต์ หน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมเพื่อวิจัยและพัฒนาสิ่งอุปกรณ์ต่างๆให้กองทัพ เน้นประโยชน์ใช้สอยและความอยู่รอดในสนามรบ 
ความโดดเด่นเห็นได้ชัดคือการใช้จุดสี่เหลี่ยมเล็กๆมาเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ ทั้งแบบเป็นแถบและเป็นจุดเดี่ยวๆกระจายตัวเต็มผืนผ้าสลับไปมาทั้งสีเขียว,เทาและน้ำตาลอ่อน    เมื่ออยู่ในภูมิประเทศโดยเฉพาะเขตเมือง จะแยกแยะตัวทหารออกจากฉากหลังได้ยากกว่าลวดลายเดิมแบบเส้นเรียบมีสีดำปน
ACUไม่ใช่แค่ความเปลี่ยนแปลงด้านลวดลาย  แต่รูปแบบการตัดเย็บก็แตกต่างจากของเดิมเห็นได้ชัด กระเป๋าเสื้อเดิมซึ่งมี 4 จุดยังคงอยู่  แต่เปลี่ยนให้สองใบด้านล่างใกล้ชายเสื้อมาติดที่แขนเสื้อใต้แนวไหล่ มีแถบเวลโครเพื่อติดสังกัดและเหล่า ฝากระเป๋าแขนเสื้อมีแถบอินฟราเรดบอกฝ่ายกว้าง,ยาวด้านละ1ซ.ม.ทั้งซ้ายขวา ทหารสามารถมองเห็นแถบนี้ได้ด้วยกล้องมองกลางคืน(Night Vision Goggle)  เครื่องหมายบอกชั้นยศเปลี่ยนจากหัวไหล่มาติดกึ่งกลางหน้าอกด้วยแถบเวลโคร  เมื่อสวมเกราะทับก็ถอดเครื่องหมายยศมาติดบนเกราะหรือหมวกนิรภัยแทน   กระดุมด้านหน้าถูกเปลี่ยนเป็นซิปมีแถบเวลโครติดสาบเสื้อเพื่อซ่อนซิป3จุด  กระเป๋าหน้าอกที่ยังคงอยู่ถูกเปลี่ยนรูปแบบให้เฉียงลงแต่เล็กกว่าเดิมเพื่อสะดวกแก่การใช้สอย  ฝาปิดติดแถบเวลโครเช่นกัน
หมวกนิรภัยก็เปลี่ยนใหม่เช่นกัน  จากเดิมที่ใช้หมวกผลิตจากแผ่นเคฟลาร์แบบ K-Pot มีสายรัดคางยึดติดหมวก2จุดเช่นที่เห็นในสงครามอ่าวครั้งแรก ก็เปลี่ยนเป็น Advance Combat Helmet(ACH)ที่เล็กลงแต่บุภายในด้วยฟองน้ำ สายรัดคางยึดหมวกเพิ่มเป็น4จุดบุฟองน้ำที่ท้ายทอยเพิ่มความกระชับ ไม่กระเด้งกระดอนบนศีรษะขณะวิ่ง  ใช้ประกอบชุดวิทยุสื่อสารหรืออุปกรณ์อื่นได้ เช่นระบบจอแสดงผลการรบ Head Up Display (HUD)  ขาติดตั้งกล้องNVG หรืออุปกรณ์อื่น
                ที่ลวดลายและรูปแบบการตัดเย็บเป็นเช่นนี้ เพราะสงครามสมัยใหม่เน้นการสู้รบในเขตเมืองมากยิ่งขึ้น  เห็นได้จากปฏิบัติการทางทหารของอเมริกาทั้งในอิรักและอาฟกานิสถาน เน้นการสู้รบระยะประชิดในย่านชุมชน รายล้อมด้วยหมู่อาคารใหญ่น้อย ทหารจึงเคลื่อนที่ช้าแบบอาคารต่ออาคาร เฝ้าระวังทั้งกองโจรปกติและพลซุ่มยิง ทำให้สวมเครื่องแบบแล้วยังต้องสวมเกราะและอุปกรณ์หลากหลายทั้งกระสุนและอุปกรณ์ช่วยรบอื่นๆ เครื่องแบบรุ่นใหม่จึงต้องเอื้ออำนวยต่อการเคลื่อนไหวและประโยชน์ใช้สอยจริงๆมากที่สุด  โดยใช้ข้อมูลจากทหารในหน่วยรบมาเป็นตัวกำหนดรูปแบบการตัดเย็บ
                แม้ฝ่ายวิจัยและพัฒนาจะอ้างว่าเครื่องแบบใหม่นี้ใช้งานได้ทุกสภาพภูมิประเทศ  แต่ทหารที่สวมใส่มันเข้าสู้รบจริงๆกลับบอกว่าเพราะมีสีเขียวตุ่นๆมากกว่าสีอื่น  จึงพรางตัวได้ไม่ดีเท่าไรในเขตป่าและทะเลทราย กระนั้นฝ่ายวิจัยและพัฒนาก็แย้งกลับมา  ว่าผลจากการทดลองในสภาพแวดล้อมเปรียบเทียบกับลายพรางอื่นๆแล้วลายพรางACUกลมกลืนกว่าจริงๆ 
เป็นเพราะหลักนิยมของการทำสงครามปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิม เมื่อการสู้รบในปัจจุบันเป็นการรบในเมืองเสียเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์  ฝ่ายตั้งรับตักตวงผลประโยชน์เต็มที่ทั้งจากการแอบแฝงฝูงชนและซอกหลืบของอาคาร  ทำให้ฝ่ายยกเข้ากวาดล้างต้องทำทุกอย่างเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบ  ทหารท่านใดที่เคยฝึก”เมาท์”(Military Opration on Urban Terrain  MOUT)มาแล้วย่อมทราบดีว่ากองโจรเพียงหยิบมือเดียวสามารถตั้งยันฝ่ายเข้าตีใช้กำลังมากกว่าหลายเท่าได้ 
ตัวอย่างเห็นชัดๆของ”เมาท์”  คือสงครามยึดเมืองสตาลินกราดในสงครามโลกครั้งที่ 2  ศึกวันตรุษญวนในเมืองเว้ครั้งสงครามเวียตนาม  เหตุการณ์”แบล็คฮอว์คดาวน์”ที่กรุงโมกาดิสชูประเทศโซมาเลีย และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือสงครามกวาดล้างในเมืองฟัลลูจาห์ของอิรักทั้งสองครั้งในปี2004  ระหว่างกองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐฯอาวุธครบมือทั้งเครื่องบินและรถถัง กับฝ่ายต่อต้านกำลังน้อยกว่าที่ใช้อาวุธพื้นฐานเช่นปืนAK-47และเครื่องยิงจรวดRPG  แต่ใช้ประโยชน์เต็มที่จากหมู่อาคารและฝูงชน  ทวีความยากลำบากให้แก่ฝ่ายปราบปรามซึ่งต้องใช้ทรัพยากรสิ้นเปลืองกว่าการรบในป่ามหาศาล 
ราคาของเครื่องแบบใหม่ของท.บ.สหรัฐฯนี้ทั้งเสื้อและกางเกงคือ 76 ดอลลาร์  เทียบกับของเดิมแบบพรางป่ามีราคา 58 ดอลลาร์แต่กองทัพก็ปรับเพิ่มเบี้ยค่าเครื่องแบบให้ทหารตามไปด้วย  ราคานี้ยังไม่รวมค่าแถบชื่อ เหล่า สังกัด ชั้นยศซึ่งทหารต้องจ่ายเพิ่มอีกเล็กน้อยแต่จ่ายเพียงครั้งเดียว  เครื่องหมายบุแถบเวลโครข้างหลังนี้สามารถดึงลอกไปติดเครื่องแบบชุดอื่นที่มีอยู่ได้
     Re : ลายพรางใหม่ของกองทัพบกสหรัฐฯ และสงครามที่เปลี่ยนไป
ข้อบ่งชี้เพื่อการบำรุงรักษาให้เครื่องแบบใช้งานได้นานได้บอกไว้ว่าห้ามลงแป้งเด็ดขาด  ตามข้อความตอนหนึ่งในวิธีดูแลระบุว่า”ห้ามไม่ให้ทหารลงแป้งเครื่องแบบACUนี้เด็ดขาด  การลงแป้ง แก้ไขขนาด หรือกระทำการด้วยกรรมวิธีอื่นใดเช่นซักแห้งหรืออบไอน้ำจะมีผลกระทบต่อความทนทานของเนื้อผ้า  และไม่อนุญาตให้ทำเช่นนั้น”  วิธีการดูแลที่ถูกคือต้องซักด้วยน้ำธรรมดากับผงซักฟอกอย่างอ่อน  ปราศจากน้ำยาฟอกหรือกัดสีผ้า  ให้ตากเครื่องแบบไว้ในที่อุณหภูมิห้อง  หลังจากซักแล้วสะบัดแขวนเลยโดยไม่ต้องบิด 
กองทัพจะแจกเครื่องแบบให้ปีละสองชุด เพราะอายุการใช้งานของเครื่องแบบถูกกำหนดมาให้ใช้ได้ชุดละ 6 เดือน ตอนเพิ่งเข้าประจำการใหม่ๆเครื่องแบบลายนี้ค่อนข้างมีปัญหา  เช่นตะเข็บปริ เนื้อผ้าขาดแล้วลุ่ย ในปีหลังๆนี้มันได้ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นด้วยผ้าเนื้อคอตตอนผสมโพลีเอสเตอร์  เบาสบายไม่ลุ่ยลวดลายพิมพ์ชัดกว่าเดิม
ความเปลี่ยนแปลงด้านรูปแบบการตัดเย็บและลวดลายเครื่องแบบท.บ.สหรัฐฯ  สะท้อนให้เห็นถึงหลักนิยมในการทำสงครามที่เปลี่ยนไป  จากการรบในป่าและทะเลทรายมาเป็นการรบในเมือง  เป็นยุทธวิธีที่ฝ่ายตั้งรับได้เปรียบ  สามารถใช้กำลังพลน้อยช่วงชิงความได้เปรียบได้จากซอกมุมของอาคารสถานที่  กดดันและข่มขวัญฝ่ายกวาดล้างได้มหาศาล ด้วยอาวุธเบาทั้งปืนเล็กยาว,กับดักสังหารบุคคล,ทุ่นระเบิดทำลายรถถังและพลซุ่มยิง  กองโจรไร้เครื่องแบบเร้นกายในฝูงชนยากต่อการพิสูจน์ฝ่าย
ไม่ใช่เรื่องแปลกหากกองทัพสหรัฐฯจะบอกใครๆว่าตนพร้อมที่สุดในโลก  ทั้งกำลังพลและยุทโธปกรณ์ เพราะต้องทำสงครามปกป้องผลประโยชน์อยู่ตลอดเวลาไม่ว่าในยุคของประธานาธิบดีคนไหน  ความเปลี่ยนแปลงเท่านั้นที่จะคงความได้เปรียบไว้ได้ทุกสถานการณ์และทุกสมรภูมิ
                แล้วกองทัพบกไทยของเราล่ะ  เมื่ออเมริกามหามิตรที่ส่งทหารมาร่วมซ่อมรบเป็นประจำเปลี่ยนสไตล์การแต่งกาย  ทหารบกไทยมีอะไรปรับเปลี่ยนบ้างหรือเปล่า?  ตอบได้ว่าเปลี่ยนสีสันลวดลายของเครื่องแบบเหมือนกัน  จากลายพรางป่าท.บ.ที่เราเห็นกันเจนตามาเป็นลายพรางป่าดิจิตอล  คล้ายคลึงกับลายCADPATของคานาดา  เพราะภูมิประเทศบ้านเราอยู่ในเขตร้อนชื้นจึงไม่เหมาะจะใช้สีสันแบบเดียวกับท.บ.สหรัฐฯ  ลายพรางดิจิตอลของท.บ.ไทยนี้เปิดตัวไปแล้วในงาน Defense and Security 2007 ปลายปีก่อนที่ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพคต์เมืองทองธานี  คาดว่าลายเครื่องแบบใหม่ของท.บ.ไทยจะเป็นที่พบเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากทยอยปลดประจำการเครื่องแบบลายเก่า 
                อาวุธของเราอาจด้อยกว่าก็จริง  แต่เรื่องความ”เท่”ทหารไทยไม่เคยเป็นรองใครอยู่แล้วครับท่าน!
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=6078&language=1&PHPSESSID=ae6615072

ข้อมูล ชุดมัลติแคม(MultiCam)
มัลติแคม(MultiCam) หรือ พรางตัว
คุยกันเรื่องนี้ บ้าง พรางตัว
 ชื่อ มัลติคาโมฟลากย์ หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า พหุทัศนีย์ หมายถึงลายพราง
ที่เมื่อทหารสวมใส่แล้วทำให้ศัตรูผู้พบเห็นไม่สามารถระบุได้ว่าทหารคนนั้นเป็น
บุคคลหรือเป็นสิ่งเดียวกับสถาพแวดล้อม(Multi Environment Camouflage)
ลวดลายชนิดนี้ได้รับการวิจัย โดย หจก.เครย์ พรีซีสชั่น
ร่วมกับ ศูนย์ถอดรหัสและค้นคว้าแห่งกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ที่มาของลายพรางนี้
เหตุเกิดที่สงครามในอัฟกานิสถานและอิรัก เมื่อทหารอเมริกาสวมชุดลายพรางแบบ
เก่าที่มีชื่อว่า ลายพรางแบบ พื้นที่ต้นไม้ และลายพรางแบบ กลุ่มพรางทะเลทราย ซึ่งทหารได้
นำทั้งสองลวดลายมาสวมใส่ปะปนกัน โดยทั้งสองชนิดนั้นถูกใช้มา
ตั้งแต่สงครามอ่าวเมื่อสิบหกปีที่แล้ว ซึ่งจากรายงานในอิรักและอัฟกานิสถานหลาย
ครั้งชุดไม่สามารถทำการพรางได้ทำให้ทหารอเมริกาตกเป็นเป้าที่เด่นชัดจากการ
โจมตีของข้าศึก ทีมวิจัยจึงเร่งทำการค้นคว้าและทดสอบเป็นเวลากว่าหนึ่งปีครึ่ง โดยใช้
ลวดลายกว่าหนึ่งร้อยแบบให้ผ่านการปรับแต่งโดยคอมพิวเตอร์และทดสอบในสภาพแวด
ล้อมจริงของพื้นที่ต่างๆเช่น ทะเลทราย,ป่าฝน,ภูเขาหิน,ทุ่งหญ้าเป็นหย่อมๆ
บนพื้นดิน ตามเวลาที่แตกต่างกันอันได้แก่ช่วงตั้งแต่ แสงในยามเช้า พระอาทิตย์ในตอน
กลางวัน และแสงจันทร์ในยามคำ สุดท้ายก็ได้ชุดพรางที่มีลวดลายและสีสันที่ปรับสภาพไป
ตามสถานะของพื้นที่ อันมีชื่อว่าลายว่า มัลติแคม(MultiCam)

* untitled18.jpg (89.32 KB, 465x628 - ดู 2289 ครั้ง.)
* multicam-vs-woodland.jpg (74.95 KB, 576x432 - ดู 1443 ครั้ง.)
* multicam-wall.jpg (60.17 KB, 576x432 - ดู 1447 ครั้ง.)
* multicam-desert.jpg (81.36 KB, 576x432 - ดู 1428 ครั้ง.)
* multicam-bldg.jpg (61.58 KB, 576x432 - ดู 1459 ครั้ง.)
* multicam 1.jpg (30.57 KB, 400x267 - ดู 1421 ครั้ง.)
ในสงครามยุคใหม่เทคโนโลยีถูกพัฒนา อย่างต่อเนื่อง เครื่องแบบของนักรบ ก็ถูกพัฒนาตามไปด้วยเหมือนกัน จากอดีตถึงปัจจุบัน เครื่องแบบภาคสนาม 
ต่างมีลวดลาย และสีสันเพื่อการพรางตนให้เข้ากับภูมิประเทศ และสภาพแวดล้อม 
เพื่อไม่ให้ตกเป็น เป้าของฝ่ายศัตรู

ในลายพรางแต่ละแบบก็ต้องใช้กับลักษณะของภูมิประเทศนั้นๆ หากใช้ผิดที่ผิดทาง ก็ไม่ถูกกับประโยชน์ของมันจริงๆ 
แต่ลางพราง แบบ Multicam เป็นลายพรางเดียวที่ถูกออกแบบมา ให้ใช้ได้กับทุกภูมิประเทศ ทุกสภาพแวดล้อม 
ทุกอากาศฤดู ทุกสภาพแสง ด้วยลายเพียงลายเดียว

ถึงแม้ว่าจะมี ระบบ location-specific ที่ดีอยู่มากมาย แต่ MultiCam ได้ถูกพัฒนา ออกแบบมาเพื่อทำงานในเงื่อนไข
และสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างหลากหลาย อาทิเช่น เมื่อทำการสำรวจในช่วงความถี่สัญญาณที่ตามองเห็นและ
ช่วงความที่ที่ใกล้เคียง อินฟราเรด (ทัศนวิสัยตอนกลางคืน)

การพรางแบบ Multicam ได้ผลที่น่ามหัศจรรย์ มันดูกลมกลืนกับทุกภูมิประเทศ และแสงอย่างไม่น่าเชื่อ 
เป็นผลดีต่อการออกสนามรบที่ข้าศึกไม่สามารถ ตรวจสอบได้จากระยะไกล

นอกจากชุดที่เป็นลายพรางแบบ Multicam ยังมีอุปกรณ์ต่างๆ (Gear) ที่เป็นการพราง แบบ Multicam อีกด้วย


* Australian-multicam-585x600.jpg (96.04 KB, 585x600 - ดู 1435 ครั้ง.)

* 5639380111_9dfc4f0a48_o.jpg (146.03 KB, 800x531 - ดู 1382 ครั้ง.)

* army.mil-102156-2011-03-17-010322.jpg (127.65 KB, 550x949 - ดู 1383 ครั้ง.)

* 358585.jpg (123.4 KB, 650x870 - ดู 1373 ครั้ง.)
oobom007ooSat Jun 23 2012 21:47:20 GMT+0700 (ICT)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น